PMsquare ThailandPMsquare ThailandPMsquare Thailand

การวิเคราะห์ผลต่างด้านปริมาณและราคา (Price Volume Mix Analysis) ใน TM1

โดย Yuri Kudryavcev ที่ปรึกษาบริษัท Cornerstone Performance Management

ผมเพิ่งมีโอกาสได้อ่าการวิเคราะห์ปริมาณราคาแบบผสมผสานด้วยเทมเพลต IBM Accelerator และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับตัวผมเองเมื่อ ปีที่แล้ว ตอนที่ต้องสร้างเทมเพลตสำหรับโมเดลด้านเภสัชกรรมเอง และนี่ก็คือใจความสำคัญบางส่วนโดยสรุป 

Price Volume Mix คืออะไร?

ผลต่างของปริมาณและราคา (Price volume variance) เป็นการวิเคราะห์พื้นฐานสำหรับบริษัทที่เรียกได้ว่าเป็นบริษัท วิดเจ็ต‘ (ขายผลิตภัณฑ์แทนการให้บริการซึ่งคุณจะเห็นได้บ่อยในบริษัทที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายได้เร็ว (Fast-moving consumer goods, FMCG) ยา สินค้าสำหรับอุปโภคบริโภคทั่วไป โดยมีเป้าหมายก็คือการแจกแจงผลต่างยอดขาย (sales variance) จากสถานการณ์ต่างๆ และระบุผลต่างออกมาเป็น: 

  • ปริมาณ (volume): เราขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • ราคา (price): เราขายราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • ผลกระทบจากสกุลเงิน (currency impact): เราทำเหมือนเดิมทุกอย่างแต่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

หากวาดออกมาเป็นกราฟ ก็เหมือนกับว่าคุณต้องการที่จะสร้าง ‘สะพาน’ เชื่อมระหว่าง สถานการณ์ ซึ่งสามารถระบุผลต่างออกมาได้ ดังนี้:

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าผลต่างระหว่างปี 15 และปี 16 เป็นยอดรวม 15,000 ปอนด์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นผลต่าง 10,000 และ 5,000 ปอนด์ สำหรับปริมาณและราคาตามลำดับ จึงกล่าวได้ว่าเราได้รับ 10,000 ปอนด์ที่มากขึ้น เพราะเราปริมาณขายที่มากขึ้น และได้รับ 5,000 มากขึ้นเพราะเราคิดราคาขายได้เพิ่มขึ้น หรือสามารถอธิบายได้อีกแบบด้วยกราฟนี้

ข้อควรพิจารณาในการนำไปใช้

เทมเพลต IBM ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญมากมายที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน:

  • เลือกระดับของผลิตภัณฑ์ (หรือส่วนอื่นใดที่สำคัญ) เพื่อนำไปใช้คำนวณ เช่น คุณอาจเห็นผลต่างที่ระดับผลิตภัณฑ์ แต่อาจไม่เจอผลต่างในระดับกลุ่มผลิตภัณฑ์
  • การมีทั้งต้นทุนขายสินค้า รวมทั้งยอดขายรวม (Gross Sales) และยอดขายสุทธิ (Net Sales) เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการวิเคราะห์แบบครบวงจร แต่ให้ระวังผลต่างของอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) เนื่องจากการคำนวณทั้งหมดให้ถูกต้องนั้นค่อนข้างยาก
  • ผลต่างจากการปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน – คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ ผมไม่ได้ขาย 100% ใน 2 สกุลเงิน (ฉันใช้ 1) ซึ่งต้องมีอัตราที่เทียบเคียงกันได้ในเทมเพลต

ยังมีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ดังนี้:

  • ให้นึกถึงการเพิ่มบัญชีหรือรายการให้มากขึ้นเพื่อการวิเคราะห์แบบ “เจาะลึก” อยู่เสมอ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของราคาเพราะเราให้ส่วนลดสำหรับการซื้อปริมาณมาก? ผมมักจะเพิ่มรายการยอดขายรวม (Gross Sales) บนกำไรขั้นต้น (Margin revenue) เผื่อไว้ในกรณีที่ต้องใช้
  • เพิ่มผลิตภัณฑ์อย่างการบรรจุภัณฑ์ใหม่ (repackaging) เพื่อการเปรียบเทียบ (creating a comparable) เพื่อให้คุณสามารถจำลองสถานการณ์ขึ้นใหม่ได้อย่างหลากหลายสำหรับส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (product mix) ที่เหมือนกัน การทดแทนผลิตภัณฑ์ด้วยผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชันใหม่ (เช่น แพ็คเกจที่ต่างกันของยา) อาจจะดูเหมือนส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์เดิม แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป
  • ผมหลีกเลี่ยงการทำลักษณะนี้กับโมเดลที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก การแยกเป็น Cube รายงาน และดึงข้อมูลโดยใช้ TI เป็นทางออกที่ดี โดยการวิเคราะห์นี้จำเป็นต้องใช้การคำนวณที่ระดับผลรวม (C level rules) จำนวนมากซึ่งทำให้ใช้เวลาในการประมวลผล
  • ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราไม่สามารถกำหนดมาตรฐานการคำนวณนี้ได้แม้สำหรับสาขาของบริษัทเดียวกันในประเทศต่างๆ และยังคงเป็นเรื่องยากที่จะเริ่มต้นจากโมเดลเทมเพลต เพราะการคำนวณระดับแม่ (C-level rules) จะทำให้คุณรู้สึกสับสนได้

โพสดั้งเดิมของบล็อกนี้อยู่ใน Applied Dimensionality 

https://www.ykud.com/blog/cognos/tm1-cognos/pvm/ 

Leave A Comment

Please fill-up the form below





Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Download the Whitepapers

[hubspot type=form portal=2383378 id=6b773102-de9a-4e8c-86ad-af3f7fea5f47]